ประวัติของกระดาษ

ประวัติกระดาษ

กระดาษ เป็นวัสดุที่ผลิตขึ้นมาสำหรับการจดบันทึก มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เชื่อกันว่ามีการใช้กระดาษครั้งแรกๆ โดยชาวอียิปต์โบราณ และชาวจีนตั้งแต่สมัยโบราณ แต่กระดาษในยุคแรกๆ ล้วนผลิตขึ้นเพื่อการจดบันทึกด้วยกันทั้งสิ้น จึงกล่าวได้ว่าระบบการเขียน คือแรงผลักดันให้เกิดการผลิตกระดาษขึ้นในโลก

กระดาษของชาวอียิปต์โบราณ ผลิตจากหญ้าที่เรียกว่าปาปิรุส (papyrus) และเรียกว่ากระดาษปาปิรุส พบว่ามีการใช้จารึกบทสวดและคำสาบาน บรรจุไว้ในพีระมิดของอียิปต์ นักประวัติศาสตร์เชื่อว่ามีการใช้กระดาษที่ทำจากปาปิรุสมาตั้งแต่ปฐมราชวงศ์ของอียิปต์ (ราว 3000 ปีก่อนคริสตกาล) [1]สำหรับวัสดุใช้เขียนนั้น ในสมัยโบราณมีด้วยกันหลายอย่าง เช่น แผ่นโลหะ หิน ใบลาน เปลือกไม้ ผ้าไหม ฯลฯ ผู้คนสมัยโบราณคงจะใช้วัสดุต่างๆ หลากหลายเพื่อการบันทึก ครั้นเมื่อราว ค.ศ. 105 ชาวจีนชื่อ เป็นคนแรกที่ได้ประดิษฐ์กระดาษจากเศษผ้าฝ้ายผ้าขี้ริ้วเพื่อเป็นวัสดุที่ใช้เขียนแทนผ้าไหมที่มีราคาแพง และหลังจากนั้นได้มีการใช้วิธีผลิตกระดาษเช่นนี้แพร่หลายอย่างรวดเร็ว [2]

ประวัติกระดาษในสมัยโบราณของไทย การศึกษาส่วนมากจะอาศัยการท่องจำต่อ ๆ กันมาในระดับท้องถิ่น และมีบางส่วนที่ได้จดบันทึกไว้เป็นตำราลงบนแผ่นศิลา แผ่นหนัง แผ่นดินเผา ใบลาน เมื่อมีการทำกระดาษก็จดบันทึกลงบนกระดาษ กระดาษในระยะแรก ๆ เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อข่อย เรียกว่า สมุดข่อย

กระดาษข่อยในสมัยโบราณมี 2 สี ได้แก่
1 กระดาษข่อยสีขาว เขียนด้วยสีดำ สีแดง หรือสีทอง
2.กระดาษข่อยสีดำที่ผสมหรือทาด้วยผงถ่านสีดำ เขียนด้วยสีขาวหรือสีทอง
สีทองส่วนมากทำจากหอระดานกลีบทอง สีทองที่ทำจากผงทองคำก็มี [3]

จากนั้นเราก็มีกระดาษที่เรียกว่าสมุดไทย ผลิตจากเยื่อไม้ทุบละเอียด ต้มจนเปื่อย ใส่แป้งเพื่อให้เนื้อกระดาษเหนียว แล้วนำไปกรองในกระบะเล็กๆ ทิ้งไว้จนแห้ง แล้วลอกออกมาเป็นแผ่น พับทบไปมาจนตลอดความยาว จึงได้เป็นเล่มสมุด เรียกว่า สมุดไทยขาวหากต้องการ สมุดไทยดำ ก็จะผสมผงถ่านในขั้นตอนการผลิตในทางภาคเหนือของไทย มีการผลิตกระดาษด้วยวิธีการคล้ายคลึงกัน เรียกว่า กระดาษสาเมื่อนำมาทำเป็นสมุดใช้เขียน เรียกว่า ปั๊บสาคำว่ากระดาษ ในภาษาไทยไม่ปรากฏที่มาอย่างแน่ชัด มีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะทับศัพท์มาจากภาษาโปรตุเกสว่า แต่ความจริงแล้ว คำว่ากระดาษ ในภาษาโปรตุเกส ใช้ว่า papel ส่วนที่ใกล้เคียงภาษาไทยมากที่สุด น่าจะเป็นคำศัพท์ในหมายถึง กระดาษ เช่นกัน [1]

ประโยชน์กระดาษในตำราการแพทย์ไทย

ตำราสมัยโบราณนิยมทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมยาว ๆ ตามรูปของใบลาน แล้วเจาะร้อยรูด้วยเชือกมัดรวมกันเป็นเล่มเรียกว่า ผูก ภาษาที่ใช้ส่วนมาก จะใช้ภาษาตามพระไตรปิฎก หรือพระคัมภีร์ทางศาสนา เช่น ภาษาบาลีหรือสันสกฤต ภาษาขอม หรือภาษาลานนา ส่วนตัวอักษร จะใช้ ภาษาบาลีหรือสันสกฤต ที่พื้นบ้านเรียกว่า ตัวธรรม หรือใช้อักษรดั่งเดิมของท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น ตัวอักษรขอม อักษรลานนา อักษรไทยสมัยสุโขทัย หรือสมัยอยุธยา เป็นต้น ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระราชดำริว่า พระคัมภีร์แพทย์ต่าง ๆ นั้น ใช้สำหรับบำบัดโรคภัยไข้เจ็บเป็นประโยชน์แก่มหาชนเป็นอันมาก ทั้งมีพระตำหรับหลวงเก่า ๆ อยู่มาก จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประชุมแพทย์หลวง นำพระคัมภีร์แพทย์ในที่ต่าง ๆ มาทำการตรวจสอบ และได้ทรงแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบพระคัมภีร์แพทย์ แล้วจดบันทึกไว้ในหอสมุดหลวงเมื่อได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งโรงเรียนราชแพทยาลัยขึ้นใน พ.ศ. ได้พิมพ์ตำราแพทย์สำหรับโรงเรียน เล่มแรกชื่อว่า แพทยศาสตรสงเคราะห์ เมื่อ พ.ศ. 2432 พิมพ์เป็นตอน ๆ เป็นตำรารวมทั้งวิชาแพทย์แผนโบราณและวิชาแพทย์แผนตะวันตก แต่ออกมาได้เพียง เล่มเล็ก ๆ ต่อมา พระยาพิศณุประศาสตร์เวช ได้กราบทูลขอประทานอนุญาตพิมพ์ คัมภีร์ฉบับหลวง ต่อพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงดำรงราชานุภาพ เป็นครั้งแรกเมื่อ วันที่ 1 มีนาคม 2450 ให้ชื่อตำราว่า แพทยศาสตรสงเคราะห์ ฉบับหลวง มีสองเล่มต่อมาอีก 1 ปี ท่านได้จัดพิมพ์ตำราแพทยศาสตร์ฉบับสังเขป ซึ่งท่านได้เรียบเรียงไว้เป็นหลักการสอนในโรงเรียนแพทย์ ชื่อว่า เวชศึกษา หรือแพทยศาสตร์สังเขป แบ่งเป็น 3 เล่ม พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2451 เป็นตำราชุดสำคัญในยุคนี้ รวม เล่ม คือแพทยศาสตรสงเคราะห์ ฉบับหลวง 2 เล่ม เวชศึกษา หรือแพทยศาสตร์สังเขป 3 เล่ม [3]
เอกสารอ้างอิง

1 วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. ม.ป.ป.. กระดาษ. กระดาษ-วิกิพีเดีย. แหล่งที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A9 , 25 กรกฎาคม 2550.
2 สุทัศน์ ยกส้าน. ม.ป.ป.. กระดาษกับการอนุรักษ์. โครงการสิ่งแวดล้อม. แหล่งที่มา: http://www.school.net.th/library/snet6/envi4/recycle/paper1.htm, 25 กรกฎาคม 2550.
3 วุฒิ วุฒิธรรมเวช. 2549. ประวัติตำราการแพทย์ไทย. สมุนไพร-ประวัติตำราการแพทย์ไทย. แหล่งที่มา: http://www.samunpri.com/modules.php?name=News&file=article&sid=240&mode=thread&order=0&thold=0 , 24 กรกฎาคม 2550.

About upper