โรคซีวีเอส หรือ คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม

 

โรคคอมพิวเตอร์ วิชั่น ซินโดรม

โรคคอมพิวเตอร์ วิชั่น ซินโดรม

โรคคอมพิวเตอร์ วิชั่น ซินโดรม (มติชน)

          คนรุ่นใหม่ที่ต้องนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันวันละหลายๆ ชั่วโมง เสี่ยงต่อการเป็นโรคตาที่มีชื่อว่า “คอมพิวเตอร์ วิชั่น ซินโดรม Computer Vision Syndrome” โดยมีอาการ คือ ปวดเบ้าตา, ปวดต้นคอ, มีอาการอ่อนล้าทางประสาทตา, มีภาวะตาแห้ง รอยดำคล้ำบริเวณตา หรือมีรอยบวมเห็นเป็นถุงใต้ตาโปนออกมา นับเป็นปัญหาที่สร้างความกังวลให้กับคนทุกเพศทุกวัยอย่างมาก

          สาเหตุหลักๆ นอกจากการใช้สายตาเพ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ แล้ว ยังเกิดจากการได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตในแสงแดดมากเกินไป และมีปัจจัยอื่นๆ เช่น กรรมพันธุ์ สภาพแวดล้อม อาหาร ความเครียด การลดลงอย่างฉับพลันของฮอร์โมน ฯลฯ

          การรักษานั้น สมัยก่อนมักคิดถึงการผ่าตัด ซึ่งไม่เพียงแต่ความเจ็บปวดและมีค่าใช้จ่ายสูง แต่อาจจะคงสภาพได้เพียง 1-2 ปี พญ.พุธศิรินทร์ ชูจันทร์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง เปิดเผยว่า ล่าสุดเริ่มมีการคิดค้นวิธีรักษาด้วยตนเอง ด้วยการบำรุงผิวรอบดวงตาเพื่อชะลอความเสื่อมและกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน อิลาสติน ด้วยสารโปรตีนอนุภาคเล็กที่เรียกว่า Acetyl tetrapeptide 5 (อะเซ็ทติล เต็ตตร้า เปปไทด์ 5) ซึ่งในวงการแพทย์ใช้เป็นยาลดความดันเลือด แต่ปัจจุบันมีการนำมาใช้ในเครื่องสำอางบำรุงผิว เพราะมีการศึกษาวิจัยในยุโรปแล้วว่า สามารถช่วยลดการเกิดถุงใต้ตา รอยบวม ตลอดจนรอยคล้ำได้ เพราะช่วยปรับการไหลเวียนของโลหิตและน้ำเหลืองให้เป็นไปอย่างสมดุล อีกทั้งช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ทำให้เซลล์ผิวแข็งแรงกระชับขึ้น และช่วยให้ของเสียถูกขับถ่ายออกจากเซลล์ผิวได้ดีขึ้น จึงช่วยลดการสะสมตัวของน้ำและไขมันที่อาจเกิดขึ้นรอบดวงตา

          สำหรับการแก้ไขขั้นต้น ควรเริ่มจากการปฏิบัติตัวใหม่ เช่น อย่าให้กล้ามเนื้อตาล้าเกินไป ด้วยการอย่านั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ ให้พักสายตาทุก 15 นาที ด้วยการมองออกไปไกลๆ จะทำให้ดวงตาไม่เกิดอาการล้า พร้อมปรับแสงหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้แสงพอเหมาะ อย่าขยี้ตา หากรู้สึกอ่อนล้าให้นวดคลึงเบาๆ และควรบริหารดวงตา เพื่อคลายความตึงเครียด ด้วยการกลอกตาไปรอบๆ เป็นวงกลม สัก 5-6 รอบ ใช้นิ้วนางทั้ง 2 นิ้ว แตะที่หัวตาแต่ละข้าง คลึงเบาๆ แบบกดจุดนาน 1-2 วินาที

สาเหตุการเกิดโรค เนื่องจากว่าผู้ใช้คอมพิวเตอร์ไม่ค่อยกระพริบตา ปกติแล้วเราทุกคน จะต้องกระพริบตาอยู่เสมอ เป็นการเกลี่ยน้ำตาให้คลุมผิวตาให้ทั่วๆ โดยมีอัตราการ กระพริบ 20 ครั้งต่อนาที หากเราอ่านหนังสือหรือนั่งจ้องคอมพิวเตอร์ อัตราการกระพริบ จะลดลง โดยเฉพาะการจ้องคอมพิวเตอร์การกระพริบตาจะลดลงกว่าร้อยละ 60 ทำให้ ผิวตาแห้ง ก่อให้เกิดอาการแสบตา ตาแห้ง รู้สึกฝืดๆ ในตา

1. แสงจ้า และแสงสะท้อนจากจอคอมพิวเตอร์ ทำให้ตาเมื่อยล้า ทั้งแสงจ้าและแสงสะท้อน มายังจอภาพ อาจเกิดจากแสงสว่างไม่พอเหมาะ มีไฟส่องเข้าหน้าหรือหลังจอภาพโดยตรง หรือแม้แต่แสงสว่างจากหน้าต่างปะทะหน้าจอภาพโดยตรง ก่อให้เกิดแสงจ้าและ แสงสะท้อนเข้าตาผู้ใช้ ทำให้เมื่อยล้าตาง่าย

2. ระยะทำงานที่ห่างจากจอภาพให้เหมาะสม ควรจัดจอภาพให้อยู่ในระยะพอเหมาะที่ตา มองสบายๆ ไม่ต้องเพ่ง โดยเฉลี่ยระยะจากตาถึงจอภาพควรเป็น 0.45 ถึง 0.50 เมตร ตาอยู่สูงกว่าจอภาพโดยเฉพาะผู้ที่ใช้แว่นสายตาที่มองทั้งระยะใกล้และไกล จะต้องตั้ง จอภาพให้ต่ำกว่าระดับตา เพื่อจะได้มองตรงกับเลนส์แว่นตาที่ใช้มองใกล้

3. รายงานการศึกษาวิจัยเมื่อปี 2004 พบ ว่าปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดโรคซีวีเอสคือ มุมของระดับสายตา กับจอคอมพิวเตอร์ อาการต่างๆ จะหายไปเมื่อมุม ดังกล่าวมากกว่า 14 องศา ส่วนปัจจัยอื่นๆ จากการวิจัยพบว่าไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

อาการของ”โรคซีวีเอส” หรือ”คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม” มีอะไรบ้าง
          ตาเมื่อยล้า, ตาแห้ง, แสบตา, ตาสู้แสงไม่ได้, ตาพร่ามัว, ปวดศีรษะ, ปวดเมื่อยบ่า ไหล่ คอ หรือปวดหลัง

 เราจะมีวิธีป้องกัน หรือแก้ไขอาการเล่านี้หรือไม่
          สำหรับการแก้ไขขั้นต้น ควรเริ่มจากการปฏิบัติตัวเองเสียใหม่ เช่น อย่าให้กล้ามเนื้อตาล้าเกินไป ด้วยการอย่านั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ ให้พักสายตาทุก 15 นาที ด้วยการมองออกไปไกลๆ จะทำให้ดวงตาไม่เกิดอาการล้า พร้อมปรับแสงหน้าจอ คอมพิวเตอร์ให้แสงพอเหมาะ อย่าขยี้ตา หากรู้สึกอ่อนล้าให้นวดคลึงเบาๆ และควรบริหาร ดวงตาเพื่อคลายความตึงเครียด ด้วยการกลอกตาไปรอบๆ เป็นวงกลม สัก 5-6 รอบ ใช้นิ้วนางทั้ง 2 นิ้วแตะที่หัวตาแต่ละข้าง คลึงเบาๆ แบบกดจุดนาน 1-2 วินาที

About upper